ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ค้นหาจาก google ค้นหาจากเว็บไซต์

1.ข้อมูลปริมาณการจราจรเฉลี่ยต่อวันตลอดทั้งปีและข้อมูลจุดสำรวจ 2.ตารางค่า Factor (PCU_Factor) ของกรมทางหลวง 3.เกณฑ์ระดับการให้บริการบนช่วงถนน 4.ผลการคำนวณปริมาณจราจรต่อความจุของถนน 5.การสำรวจความเร็วเฉลี่ยของยานพาหนะ 6.การสำรวจจำนวนคนเดินทางในยานพาหนะแต่ละประเภท 7.การสำรวจปริมาณจราจรความล่าช้าความยาวแถวคอยสัญญาณไฟแล้วจราจรที่ทางแยก 8.สภาพกายภาพของโครงข่ายคมนาคมขนส่ง 9.ข้อมูลระบบขนส่งสาธารณะ 10.ปริมาณการเดินทางและขนส่งสินค้าในปัจจุบัน 11.ปริมาณการเดินทางและขนส่งสินค้าในอนาคต 12.ปริมาณรถจดทะเบียน 13.สถิติการเดินทางและขนส่งสินค้าทางอากาข้ามแดน 14.เส้นทางเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยว 15.อุบัติเหตุจราจรทางบก

เส้นทางเชื่อมโยงไปยังแหล่งท่องเที่ยว

   จังหวัดบึงกาฬมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจทั้งแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ซึ่งมีสถานที่ตั้งอยู่ตามอำเภอต่างๆ เช่น วัดสว่างอารมณ์ วัดอาฮงศิลาวาส วัดโพธาราม น้ำตกถ้ำฝุ่น ภูทอก ภูสิงห์ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว เป็นต้น โครงข่ายเส้นทางที่สามารถเชื่อมโยงไปยังสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ มีทั้ง โครงข่ายของทางหลวงแผ่นดิน เช่น ทล 212 ทล.222 ซึ่งเป็นเส้นทางสายหลักที่เชื่อมโยงการเดินทางในแนวตะวันออก – ตะวันตก และแนวเหนือใต้ นอกจากนี้ยังมีโครงข่ายของทางหลวงชนบท ที่เชื่อมโยงไปยังแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญหลายแห่ง (รูปที่ 5.1.2-1) ซึ่งจะอธิบายรายละเอียดในแต่ละเส้นทางดังนี้

เส้นทางเชื่องโยงไปยังแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในจังหวัดบึงกาฬ

  - ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212 (หนองคาย-อุบลราชธานี) เป็นทางหลวงแผ่นดินสายหลัก ขนาด 2 ช่องจราจร (บางช่วงกำลังก่อสร้างขยายช่องจราจรเป็น 4 ช่องจราจรระหว่างจังหวัดหนองคายถึงจังหวัดบึงกาฬ) (รูปที่ 5.1.2-2) ที่มีเส้นทางเชื่อมโยงจากจังหวัดหนองคายเรียบแม่น้ำโขง ผ่านจังหวัดบึงกาฬ จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร และไปสิ้นสุดที่จังหวัดอุบลราชธานี ตามแนวตะวันออก-ตะวันตก ซึ่งผ่านสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญหลายแห่ง เช่น วัดสว่างอารมณ์ วัดอาฮงศิลาวาส วัดโพธาราม น้ำตกถ้ำฝุ่น และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว เป็นต้น

ตัวอย่างลักษณะหน้าตัดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212

   - ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 222 (พังโคน - บึงกาฬ) เป็นทางหลวงแผ่นดินสายหลัก ขนาด 2 ช่องจราจร (รูปที่ 5.1.2-3) เริ่มต้นจากแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 22 ที่ตำบลพังโคน อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร ผ่านอำเภอวานรนิวาส อำเภอคำตากล้า อำเภอเซกา อำเภอพรเจริญ อำเภอศรีวิไล และอำเภอเมืองบึงกาฬ และสิ้นสุดบริเวณวงเวียนหอนาฬิกา เทศบาลตำบลบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ เป็นโครงข่ายถนนที่เชื่อมโยงการเดินทางของนักท่องเที่ยวในแนวเหนือใต้ที่เข้ามาฝั่งจังหวัดสกลนคร

ตัวอย่างลักษณะหน้าตัดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 222

   - ทางหลวงชนบทสาย บก 3009 เริ่มต้นจากแยกทางหลวงหมายเลข 212 (กม.ที่ 162+200) - บ.โนนจำปาทอง เป็นเส้นทางเชื่อมโยงระหว่างอำเภอเมือง อำเภอบึงโขงหลง และอำเภอเซกา เป็นถนนแอสฟัลต์คอนกรีตขนาด 2 ช่องจราจร (รูปที่ 5.1.2-3 ) มีระยะทางรวม 46.275 กิโลเมตร เป็นเส้นทางสำคัญที่ผ่านแหล่งท่องเที่ยวตลอดสายทาง ได้แก่ ภูสิงห์ ภูทอก น้ำตกชะแนน น้ำตกถ้ำพระ และเชื่อมโยงไปยังบึงโขงหลงได้ ลักษณะผิวจราจรส่วนใหญ่อยู่ในสภาพดี แต่ในบางช่วง ไหล่ทางยังมีขนาดคับแคบและทางโค้งที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจราจรได้

ตัวอย่างลักษณะหน้าตัดทางหลวงชนบทสาย บก 3009

   - ทางหลวงชนบทสาย บก 3012 เริ่มต้นจากแยกทางหลวงหมายเลข 222 (กม.ที่ 73+300) - บ.นาคำแคน เป็นเส้นทางเชื่อมโยงระหว่างอำเภอเซกาและอำเภอศรีวิไล เป็นถนนแอสฟัลต์คอนกรีต ขนาด 2 ช่องจราจร (รูปที่ 5.1.2-4 ) และในบางช่วงถนนเป็นผิวจราจรคอนกรีตเสริมเหล็ก ระยะทางรวม 21.945 กิโลเมตร ในบางช่วงถนน มีสภาพค่อนข้างแคบและไม่มีไหล่ทาง เส้นทาง บก.3012 ก็จะเป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อกันระหว่าง ทล 222 ที่อำเภอศรีวิไล กับ ทางหลวงชนบท บก 3012 ที่บ.นาคำแคน สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการจะเดินทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยว เช่น ภูทอก ภูสิงห์ เป็นต้น

ตัวอย่างลักษณะหน้าตัดทางหลวงชนบทสาย บก 3012